
ลูกขี้น้อยใจ พ่อแม่ควรช่วยปรับอารมณ์และความรู้สึกให้ลูกอย่างไรดี
🌈คุณพ่อคุณแม่หลายคนเคยบ่นให้ฟังว่า ลูกเป็น#เด็กที่ขี้น้อยใจมาก นิด ๆ หน่อย ๆ ก็เสียใจน้อยใจ หาว่า#พ่อแม่ไม่รัก #รักลูกไม่เท่ากัน หรือบางครั้งก็น้อยใจขึ้นมากะทันหันคนเป็นพ่อแม่ก็งง ๆ กันไปว่าเกิดอะไรขึ้น เรามาลองทำความเข้าใจกับอาการขี้น้อยใจและการปรับความเข้าใจกับลูกกันค่ะว่า ลูกควรเลิกขี้น้อยใจนะจ๊ะเด็กดี💓🧚♀️
#สาเหตุอารมณ์ขี้น้อยใจของเด็ก ๆ โดยมากเกิดจากการที่เด็กรู้สึกว่า ตนเองไม่สำคัญพอสำหรับพ่อแม่หรือรู้สึกน้อยใจเวลาที่โดนตำหนิ เป็นต้น ความรู้สึกน้อยใจของลูกเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามแต่ก็ไม่ควรสปอยล์ลูกเช่นกันนะคะ
🎈แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้ลูกกำลังรู้สึกน้อยใจ อาการขี้น้อยใจของเด็กโดยมากเป็นประมาณนี้ค่ะ เช่น
📍ร้องไห้บ่อย (ขี้แย)
📍หงุดหงิดโกรธง่าย
📍ชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น
📍บางคนเก็บตัวอยู่คนเดียว
📍อารมณ์ปรวนแปรง่าย
📍ไม่ยอมกินข้าวหรือไม่ยอมพูดกับใคร ๆ
🌈เด็กขี้น้อยใจจะมีความไวต่อความรู้สึกกับคำพูดหรือการแสดงออกของคนรอบข้างที่มีต่อตนเอง (ที่ทำให้เขารู้สึกไม่ดีหรือไม่ให้ความสำคัญกับเขาเท่าที่ควร) และจะต่อต้านด้วยการแสดงออกอย่างที่กล่าวเป็นตัวอย่างไว้ข้างต้น ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจหรือไม่ทันสังเกตอารมณ์ขี้น้อยใจที่เกิดขึ้นของลูก ไม่ทันได้ช่วยปรับอารมณ์แก้ไขทัศนะคติที่ถูกต้องให้กับเขา ความรู้สึกด้านลบอาจสะสมอยู่ในใจของลูกทำให้เกิดปัญหาในใจ เช่น มีทัศนคติไม่ดีกับพ่อแม่ว่า พ่อแม่รักลำเอียง ไม่เข้าใจไม่เอาใจใส่ลูกบ้าง หรือ กลายเป็นคนขี้อิจฉาขี้น้อยใจไปจนโตก็ได้
🌈4วิธีปรับอารมณ์ความรู้สึกน้อยใจให้กับลูก
・เมื่อเห็นลูกแสดงอาการน้อยใจ พ่อแม่ควรค่อย ๆ เรียกลูกมาพูดคุยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิด ความรู้สึกที่อยู่ในใจออกมาว่า เมื่อสักครู่เกิดอะไรขึ้น มีอะไรที่ทำให้ลูกรู้สึกกระทบใจหรือไม่สบายใจอย่างไร พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการพูดระบายออกซึ่งความในใจของลูกจริง ๆ ไม่ควรขัดจังหวะระหว่างที่ลูกกำลังบอกความในใจนั้น และเมื่อเขาได้ระบายออกมาแล้วค่อยใช้เหตุผลอธิบายให้ลูกฟังว่า อะไรเป็นอะไรด้วยบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียดแต่เป็นการปรึกษาเพื่อคลายปมในใจให้กับลูก
・เด็กบางคนแสดงอารมณ์น้อยใจด้วยการร้องไห้ขี้แยหรือ ปั้นปึ่ง แยกตัวเก็บตัว ไม่ยอมพูดคุยกับใคร แนะนำว่าพ่อแม่ควรปล่อยเขาไปสักพัก (แต่ก็คอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ อย่าเพิ่งเข้าไปแสดงอะไร) และถ้าลูกแสดงอาการแบบนี้บ่อย ๆ ทุกครั้งที่รู้สึกน้อยใจหรือไม่พอใจ พ่อแม่ควรปล่อยเขาแสดงไปโดยทำเป็นไม่สนใจบ้าง เพื่อให้เขารู้ว่า วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนะ ถ้าลูกทำอย่างนี้บ่อย ๆ จะไม่มีใครสนใจ
・หากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัวเสมอ ควรเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความรักและมีความสนุกสนานร่วมกัน เช่น ไปชมภาพยนต์การ์ตูนที่ลูกชอบพร้อมกันพ่อแม่ลูก เที่ยวสถานที่ต่าง ๆ เพื่อพักผ่อนในวันหยุด ชวนกันจัดปาร์ตี้เล็ก ๆ ที่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นต้น
・พ่อแม่ควรคิดก่อนพูดหรือก่อนแสดงอะไรออกไปที่รู้ว่าจะทำให้ลูกเสียใจน้อยใจ เช่น ไม่พูดเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่น หรือ ตำหนิลูกต่อหน้าคนอื่นให้ลูกอาย ฯลฯ เป็นต้น
🌈อาการขี้น้อยใจเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งมากระทบใจแล้วทำให้รู้สึกเสียใจ ทำให้โกรธหรือทำให้อาย ฉะนั้นพ่อแม่ควรให้ความมั่นใจกับลูกของตนว่า พ่อแม่รักลูก ลูกเป็นคนสำคัญของพ่อแม่เสมอ เมื่อพ่อแม่ให้ความรู้สึกเช่นนี้กับลูก ตัวพ่อแม่เองและคนในครอบครัวก็จะระวังตัวเองมากขึ้นด้วยเป็นการช่วยลูกให้มีความมั่นใจในความรักความอบอุ่นของครอบครัว และมีความสุขสบายใจเกิดความเข้มแข็งทางใจมากขึ้นค่ะ
🛒สั่งซื้อสินค้า หรือรับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเราได้ที่
👉👉 https://www.sansanook.com/arkidstect-paper-home/
#EcofriendlyToy #sansanook #sansanookpapertoy #sansanookplaytime #momandbaby #บ้านกระดาษ #ของเล่นกระดาษลัง
Facebook: Sansanook